โดยนายนิติธรรม แกล้วกล้า
รัฐศาสตรบัณฑิต,นิติศาสตรบัณฑิต
ประชาสัมพันธ์เครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์
1. ชื่อกฎหมาย
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕
2. วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๓ ก วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ เป็นต้น
3. วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4. กฎหมายมีกี่มาตรา เช่น พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
มีทั้งหมด ๙๕ มาตรา
5. ผู้รักษาการตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้รักษาการตามกฎหมายคือนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
6. กฎหมายมีการแก้ไขหรือไม่ เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง
( ฉบับที่ ๑๓ ) พ.ศ. ๒๕๕๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.๒๕๔๒
แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๕๒
7. คณะกรรมการตามกฎหมาย เช่น คณะกรรมการพนักงานเทศบาล มีจำนวน ๑๘ คน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล มีจำนวน ๒๗ คน
คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล มีจำนวน ๑๘ คน เป็นต้น
8. ระยะเวลาตามกฎหมาย เช่น นายอำเภอต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรกภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
9. อายุของผู้ดำรงตำแหน่ง เช่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
ในวันเลือกตั้ง ตามมาตรา ๔๘ เบญจ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
10. วาระการดำรงตำแหน่ง เช่น นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง และมีระยะการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ตามมาตรา ๔๘ สัตต แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ในระหว่างที่ไม่มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล ตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
11. ผู้มีอำนาจวินิจฉัยหรือสั่งการ เช่น นายอำเภอมีอำนาจวินิจฉัยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตและคำวินิจฉัยของนายอำเภอให้เป็นที่สุด ตามมาตรา๖๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจ
สั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตาม๘๗ / ๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด ตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร พ.ศ. ๒๕๓๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาลหรือแก่ราชการ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด ตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
12. เหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่ง เช่น นายกเทศมนตรีถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามมาตรา ๔๘ (๗) ปัญจทศ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด >> ไฟล์เอกสารแบบ Word Document